ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม(Polyurethane)

ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม

ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (โพลียูรีเทน Polyurethane, PU)

ผลิตขึ้นครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อใช้ทดแทนยางธรรมชาติ และยังใช้ในการผลิตกระดาษ การผลิตก๊าซมัสตาร์ด ผ้าที่มีความทนทาน เคลือบผิวเครื่องบิน เคลือบโลหะ ไม้ และอิฐ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนและสารเคมี

โพลียูรีเทน ผลิตจากปฏิกิริยาของโพลีออลกับไดไอโซไซยาเนตหรือโพลีเมอริก ไอโซไซยาเนต โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม โพลียูรีเทนส่วนใหญ่เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมเซ็ต คือ ไม่สามารถหลอมเหลวและขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งผลิตออกมาหลายรูปแบบได้แก่ เป็นโฟมยืดหยุ่น โฟมแข็ง สารเคลือบป้องกันสารเคมี กาว สารผนึก และอีลาสโตเมอร์

คุณสมบัติของฉนวนโพลียูรีเทน P.U. Foam

โพลียูริเทน ประเภทสารประกอบเดี่ยว ซึ่งจะแข็งตัวเมื่อสัมผัสกับละอองน้ำในอากาศ มีคุณสมบัติยึดติดแน่น ดีเยี่ยม ใช้ส้าหรับอุดช่องว่าง รอยแตก รอยแยกต่าง ๆ และยังเป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียง ได้เป็นอย่างดี

  •    ประกอบไปด้วย อนูโฟมละเอียด 95% มีความคงทนและไม่ยุบตัว
  •    มีส่วนผสมของตัวท้าละลายเล็กน้อย เช่น กรดไนตริคเข้มข้น หรือ กรดซัลฟิวริค ซึ่งมีความส้าคัญท้าให้ กันน้้า กันสารเคมีได้
  •    เป็นฉนวนกันความร้อน กันน้้ารั่วซึม กันเสียง กันสะเทือน
  •    เนื่องจากมีคุณสมบัติกันความร้อนที่ดีเยี่ยม จึงสามารถฉีดโฟมแค่เพียงบาง ๆ ได้
  •     มีคุณสมบัติยึดติดแน่น สามารถใช้ได้กับวัสดุหลากหลายประเภท เช่น คอนกรีต หรือ แผ่นโลหะ, ทั้งนี้ ต้องท้าความสะอาดพื้นผิวให้ปราศจากฝุ่น น้ำหรือน้ำมัน ก่อนใช้งานโฟมโพลียูริเทน
  •    อัตราการซึมซับน้ำต่้า จึงกันน้ำรั่วซึมได้ดีเยี่ยม
  •   ไม่มีสาร CFC เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  •    ป้องกันการกัดกร่อนของกรด ด่าง จุลินทรีย์ น้้ามัน
  •    หลังจากพ่นโฟมโพลียูริเทนจนแห้งแล้ว สามารถทาสี หรือท้าการปิดทับผิวหน้าด้วยวัสดุอื่น ๆ ได้ เพื่อ เป็นการเพิ่มความทนทานขึ้นอีกชั้นหนึ่ง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ฉนวนโพลียูรีเทน P.U. Foam

1. ป้องกันความร้อน-เย็น (Most efficient)
สามารถกันความร้อนมาจากหลังคาหรือผนังได้มากกว่า 90% ค่าการนำความร้อน K-Factor = 0.017 ~ 0.024 W/MK ซึ่งมีค่าต่ำมาก ใกล้เคียงกับสูญญากาศ ทำให้ P.U. Foam ไม่สามารถนำความร้อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

2. ป้องกันการรั่วซึม (Water leaking)
เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นเซลล์ปิด มีค่าการซึมผ่านของน้ำไม่เกิน 2% จึงทำให้น้ำ ความชื้น ไอน้ำ ซึมผ่านไปยังส่วนอื่นๆ ได้ จึงไม่เป็นบ่อเกิดของเชื้อรา แบคทีเรีย และกลิ่นเหม็นอับ สามารถพ่นใต้พื้น เพื่อกันความชื้นขึ้นมาบนพื้นได้

3. การทนกรด-ด่าง (Acid & Base Resistant)
P.U. Foam ไม่ละลายในกรด-ด่าง แอลกอฮอล์ น้ำมันเครื่อง จึงทำให้สามารถป้องกันการเสียหายจากสารดังกล่าวได้

4. การทนไฟ ไม่ลามไฟ (Fire Resistant)
P.U. Foam เป็นฉนวนที่ติดไฟ แต่สามารถดับเองได้ ไม่ลามไฟ เพราะได้ผสมสารกันไฟไว้ถึง 15% จึงไม่เป็นเชื้อเพลิงเมื่อไฟไหม้

5. ไม่มีสารพิษเจือปน (Non-toxic Irritant)
เนื่องจากเป็นฉนวนที่แข็งตัวเป็นก้อน ไม่มีกรด-ด่าง หรือตัวทำละลายอื่นๆ จะมาเปลี่ยนสถานะจากของแข็งให้เป็นของเหลวได้ จึงไม่มีสารระคายเคือง หรือสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เหมือนกับใยแก้วหรือใยหิน ที่มีโอกาศหลุดร่องเป็นละอองได้

6. ป้องกันสัตว์ จำพวกนก หนู แมลง ไม่ให้เข้ามาอยู่อาศัย (Vermin Resistant)
ได้มีการปรับปรุงส่วนผสม ที่ทำให้มด หนู แมลง ไม่ชอบ สัตว์เหล่านี้จึงไม่เข้าไปทำรัง หรือทำลายตัวฉนวน

7. น้ำหนักเบาและแข็งแรง (Light weight & Strength)
มีน้ำหนักเบา โดยโฟมขนาด 1 เมตร x 1 เมตร x 1 นิ้ว จะมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม จึงทำให้ไม่ไปเพิ่มน้ำหนักบนตัวโครงสร้าง หรือบนรากฐานได้ และยังรับน้ำหนักแรงกดทับได้ถึง 2.20 กิโลกรัม

8. ติดตั้งง่าย (Easy to Install)
ในการพ่นฉนวนโพลียูรีเทนโฟม ตัวโฟมจะใช้เวลาเซ็ทตัวเพียง 3 วินาที และจะแข็งตัวภายใน 20 วินาทีเท่านั้น ไม่ต้องรอให้แห้งเป็นชั่วโมง สามารถฉีดพ่นใต้หลังคา บนหลังคา ใต้พื้นฐานราก และติดกับวัสดุได้ทุกชนิด

9. ไม่มีการยุบตัวและสวยงามตามแบบสถาปัตยกรรม (Not Pack Down)
เพราะมีความหนาแน่นถึง 35 – 50 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีลักษณะแข็ง ไม่เสื่อมสภาพ และสามารถขึ้นรูปได้ตามวัสดุที่ฉีดพ่น เป็นลอนหลังคา หรือรูปแบบต่างๆ จึงทำให้ฉนวนชนิดนี้ ทนทาน ไม่ยุบตัว และสวยงาม

10. ลดเสียงดัง กั้นเสียง (Noise Inhibiting)
เพราะมีโครงสร้างภายในเซลล์เป็นช่องอากาศ เป็นโพรงอากาศ เรียกว่า Air Gap จำนวนมาก สามารถลดการพาของเสียง หรือลดความดังได้ประมาณ 70 เดซิเบล

11. ควบคุมการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Condensation control)
ฉนวนโพลียูเรเทนโฟม จะเป็นตัวกั้นกลาง แยกความร้อนและความเย็น อยู่กันคนละฝั่ง จึ่งไม่ทำให้เกิดการเกาะตัวของไอน้ำ จึงเหมาะสำหรับใช้ในห้องเย็น และตู้เย็น

12. ประหยัดพลังงาน
สามารถป้องกันการนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อนจากภายนอก ถึงผนังและหลังคา ได้มากกว่า 90% ทำให้อุณหภูมิในห้องลดลงจากภายนอก มากกว่า 20°c (ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่นๆ ด้วย) ซึ่งอาจทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ หรือถ้าใช้เครื่องปรับอากาศ ก็จะทำให้ห้องเย็นอย่างรวดเร็ว ลดการสูญเสียพลังงาน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า 50%

19

 

ทำไมต้องใช้ “โพลียูริเทนโฟม”ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม

เพราะเป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียง กันรั่วซึม ที่เหมาะแก่การลงทุนที่คุ้มค่า ( Worth for Investment ) เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติด้านวิศวกรรมที่เท่าๆกัน จะพบว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ใช้ฉนวนโพลียูริเทนโฟมจะถูกว่าฉนวนชนิดอื่น ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ อายุการใช้งานในระยะยาวที่มากกว่าฉนวนชนิดอื่น อรรถประโยชน์ที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งฉนวนชนิดอื่นอายุการใช้งานไม่เทียบเท่าฉนวนโพลียูริ เทนโฟม โพลียูริเทนโฟม เป็นฉนวนที่มีความคงทนต่อแรงอัดและแรงดึงได้เป็นอย่างดี, มีอัตราการดูดซับความชื้นที่ต่ำ ไม่อมน้ำและไม่ซึมน้ำ, สามารถใช้ได้กับอุณหภูมิหลายระดับ เปลี่ยนรูปได้ยากและมีความคงตัวสูง, กรณีที่ใช้เป็นฉนวนกันความร้อน สามารถป้องกันความร้อนจากผนังและหลังคาได้มากกว่า 90% ท้าให้อุณหภูมิลดลง เหมาะสำหรับห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศจะท้าให้ห้องเย็นลงอย่างรวดเร็ว เครื่องปรับอากาศจะท้างานน้อยลง จึงลดการสูญเสียพลังงานประหยัดค่าไฟฟ้าถึง 50% ทั้งยังลดภาวะโลกร้อนไปในตัว

ฉนวนกันความร้อน ราคาถูก,ฉนวนกันความร้อน ตราช้าง,ฉนวนกันความร้อน polynum,ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา,ฉนวนกันความร้อน ราคา ไทวัสดุ,ฉนวนกันความร้อน แบบไหนดี,ฉนวนกันความร้อน pantip,ฉนวนกันความร้อน คือ,ฉนวนกันความร้อน ใต้หลังคา,ฉนวนกันความร้อน ใต้หลังคา ราคา,ฉนวนกันความร้อน pe,ฉนวนกันความร้อน ราคา pantip,ฉนวนกันความร้อน ยี่ห้อไหนดี,ฉนวนกันความร้อน polynum,ฉนวนกันความร้อน ตราช้าง,ฉนวนกันความร้อนผนัง,ฉนวนกันความร้อนรถยนต์,ฉนวนกันความร้อนห้องเย็น,ฉนวนกันความร้อน scg,ฝ้ากันความร้อน,แผ่นฉนวนกันความร้อน,โฟม พียู,พียูโฟม,ราคา พี ยู โฟม,พียูโฟม pantip,ฉนวนกันความร้อน pu foam ราคา,พ่นพียูโฟม ราคา,พียูโฟม กระป๋อง,พี.ยู.โฟม คืออะไร

#ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม

การเลือกฉนวนกันความร้อน

11

อากาศบ้านเราทุกวันนี้ค่อนไปทางร้อนถึงร้อนมาก ความร้อนเข้าไปเยี่ยมเราถึงในบ้านจากทุกทิศทุกทาง ทำให้หลายๆ บ้านต้องเปิดแอร์กันอยู่ตลอดเวลา ไม่ตรงกับวิถีการใช้ชีวิตแนวกรีนที่ทุกคน ทุกฝ่ายพยายามจะรณรงค์กันในปัจจุบัน ฉนวนกันความร้อนภายในบ้านจึงกลายเป็นหนึ่งในรายชื่อวัสดุก่อสร้างที่ขาดไม่ได้ในการสร้างบ้านเพื่อช่วยลดความร้อนในบ้าน ลดความจำเป็นในการใช้เครื่องปรับอากาศ และลดการใช้พลังงาน แต่ทำไมฉนวนกันความร้อนถึงได้มีให้เลือกมากมายหลายประเภทจนเริ่มสับสนว่าจะใช้ฉนวนป้องกันความร้อนแบบไหนดี? แล้วฉนวนที่ดีต้องดูอะไรบ้าง? วันนี้เราจะมาดูกันว่าจะเลือกฉนวนอย่างไรช่วยคลายร้อนให้บ้าน

ทำไมฉนวนป้องกันความร้อนภายในบ้านถึงได้มีหลายแบบ?      

หลักการทำงานของฉนวนกันความร้อนก็คือการดัก การหน่วงอากาศร้อนจากภายนอกให้ผ่านเข้ามาในบ้านได้น้อยที่สุด แต่เนื่องจากพื้นที่ที่จำเป็นต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อนแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องจุดติดตั้งฉนวน ความร้อนที่เข้ามา ข้อจำกัดอื่นๆ ของพื้นที่เอง มันก็เลยจำเป็นที่จะต้องมีฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมกับตัวแปรพวกนี้ หลักๆ แล้ว เราจะใส่ฉนวนกันความร้อนอยู่ 3 จุดใหญ่ๆ ในบ้าน ด้วยกันคือ

หลังคา       –  เป็นพื้นที่โดนแดดนานเกือบทั้งวัน สะสมความร้อนเอาไว้มากกว่าส่วนอื่นๆ และมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องอุณหภูมิอยู่เสมอ ฉนวนที่เหมาะกับพื้นที่ส่วนนี้จึงต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลง ของอากาศได้ดี

ฝ้าเพดาน    –   เป็นส่วนที่รับความร้อนจากหลังคาก่อนจะผ่านเข้ามาในตัวบ้าน ฉนวนที่เหมาะกับพื้นที่ส่วนนี้จะต้องไม่สะสม                                    ความร้อนเอาไว้ในตัวฉนวนและยังต้องถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านต่ำด้วย

ผนังรอบบ้าน –  เป็นจุดที่มีเนื้อที่รับแดดมากที่สุดในบ้าน ถึงจะโดนแดดไม่นานเท่าหลังคาแต่ก็สามารถบ่มความร้อนให้ตัว                                       บ้านได้ไม่แพ้จุดอื่นๆ ฉนวนที่เหมาะกับบริเวณนี้จึงต้องต้านทานความร้อนได้สูงพอสมควร ที่สำคัญต้อง  ทนน้ำ ทนชื้นได้ เพื่อไม่ทำให้ประสิทธิภาพกันร้อนลดลงหรือฉนวนกันความร้อนเสียหาย

คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อนทีดี      

“เลือกฉนวนต้องเลือกที่ค่า R ตัวเลขสูงๆ ค่า K ต้องต่ำๆ ” ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินคำแนะนำทำนองนี้ ในการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน ก็เพราะฉนวนกันความร้อนมีประสิทธิภาพกันความร้อนได้ก็ด้วยค่าเหล่านี้นั่นเองค่ะ มาดูกันหน่อยว่า ค่าต่างๆ พวกนี้หมายถึงอะไรและมีผลอย่างไรกับประสิทธิภาพการทำงานของฉนวนบ้าง

ค่า R -value (resistivity) หรือค่าความต้านทานความร้อนของฉนวน ตัวเลขที่กำกับไว้จะบอกเราว่า ฉนวนชนิดนั้นต้านทานความร้อนที่เข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งตัวเลขมากเท่าไหร่ ก็หมายความว่าฉนวนชนิดนั้นต้านทานความร้อนไม่ให้ผ่านเข้าไปในบ้านได้มากเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วก็จะเลือกฉนวนที่มีค่านี้สูงๆ ไว้ก่อน

ส่วนค่า K-value หรือ conductivity เป็นค่าที่บอกว่า ฉนวนชนิดนั้นมีคุณสมบัตินำความร้อนมากน้อยแค่ไหน ตามธรรมชาติแล้ว อากาศร้อนจะเข้าไปแทนที่อากาศที่เย็นกว่าเสมอ แต่ถ้าวัสดุนั้นมีค่าการนำความร้อนต่ำ อากาศร้อนก็จะผ่านตัวฉนวนเข้ามาที่ตัวบ้านได้น้อยลง โดยมากแล้วตัวเลขยิ่งต่ำก็ยิ่งดี

ค่า Thermal Capacity หมายถึงความสามารถในการเก็บหรือสะสมความร้อนของตัวฉนวน ตัวนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งตัวเลขน้อยๆ ก็แสดงว่าฉนวนชนิดนั้นสะสมความร้อนไว้ในตัวฉนวนต่ำ ส่วนใหญ่แล้วค่า Thermal Capacity ส่วนใหญ่แล้วยิ่งต่ำก็ยิ่งดี เช่นเดียวกับกับค่า K-value

เพราะฉะนั้นแล้ว ฉนวนที่ดี มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อน ก็จะต้องต้านทานความร้อนได้สูง ในเวลาเดียวกันก็จะต้องถ่ายเทความร้อนต่ำ และต้องไม่เก็บหรือสะสมความร้อนเอาไว้ในเนื้อฉนวนด้วยถึงจะเป็นฉนวนที่ทำให้อากาศภายในบ้านไม่ร้อนอบอ้าว แต่แน่นอน ฉนวนแต่ละตัวมักจะมีคุณสมบัติที่เด่นไม่เหมือนกัน เจ้าของบ้านจึงต้องชั่งใจว่า คุณสมบัติไหนเหมาะกับการใช้งานของตนมากที่สุด

 

13                                14

 

รูปซ้าย. ผนังที่ไม่ใส่ฉนวน                                                                                                                รูปขวา. ผนังที่ใส่ฉนวน

 

ข้อดี-ข้อเสียของวัสดุฉนวนแต่ละชนิด

วัสดุที่นิยมนำมาทำฉนวนมีอยู่หลากหลายชนิดซึ่งพอจะแยกตามการใช้งานของมันได้เช่น แบบแผ่น ฉนวนแบบโฟมอัด แบบที่เป็นของเหลวที่ไว้ใช้ฉีดพ่น เป็นต้น นอกจากแยกตามการนำไปใช้งานแล้ว ยังแยกย่อยไปตามชนิดของวัสดุได้อีก ไม่ว่าจะเป็น ใยแก้ว ใยแร่ เยื่อกระดาษ foam board โฟม PU ฯลฯ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน

ฉนวนประเภทหนึ่งก็อาจจะมีการยืด-หดตัวสูงเมื่อเจอความร้อน บางประเภทก็เสื่อมประสิทธิภาพกันความร้อนเมื่อโดนน้ำหรือแค่ความชื้นในอากาศ หรือบางประเภทก็ทนน้ำ ทนความชื้นได้ดีแต่ไม่ทนแดด ไม่ทนแรงกดทับบีบอัด ยุบตัวลงเรื่อยๆ เมื่อผ่านการใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง เราเลยลองทำตารางเปรียบเทียบฉนวนแต่ละประเภทมาให้ได้ดูกันค่ะ

15

เราสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฉนวนแต่ละชนิดได้อย่างไร

16

ฉนวนที่ดีจะมีค่าการนำความร้อน ((λ) หรือ K value) ต่ำ ค่าการนำความร้อนหมายถึงฉนวนชนิดนั้นๆยอมให้ความร้อนผ่านตัววัสดุได้ง่ายแค่ไหน มีหน่วยวัดเป็น W/mK หากวัสดุมีคุณสมบัติความเป็นฉนวนดีจะมีค่าการนำความร้อนต่ำยิ่งสามารถใช้ความหนาของฉนวนที่บางลงได้ ค่าการนำความร้อนเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัววัสดุไม่ขึ้นกับความหนา

ฉนวนที่ดีจะมีค่าการต้านทานความร้อน (R value) สูง ค่าการต้านทานความร้อนหมายถึงความสามารถของวัสดุที่จะยับยั้งการไหลหรือถ่ายเทความร้อน วัดเป็นค่าพลังงานต่อตารางเมตรต่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงหนึ่งองศาเคลวิน ค่าการต้านทานความร้อนยิ่งสูง ความเป็นฉนวนยิ่งดี คำนวณเป็นส่วนกลับของค่าการนำความร้อนขึ้นอยู่กับความหนาของวัสดุด้วย แต่ละความหนาก็จะมีค่าการนำความร้อนที่แตกต่างกันไป ดังนั้นหากต้องการเปรียบเทียบค่าการต้านทานความร้อนของวัสดุหลายๆ ชนิด อย่าลืมเทียบที่ความหนาเท่าๆ กัน

ฉนวนกันความร้อนแบบไหนดีที่สุด ?   

ถ้าถามว่าฉนวนแบบไหนดีที่สุดในโลกหรือแย่ที่สุดในโลก ก็คงตัดสินเป็นเอกฉันท์ไม่ได้เสียทีเดียว เพราะฉนวนแต่ละประเภทก็มีการใช้งานที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของตัวมัน การเลือกฉนวนจึงน่าจะขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งานและความพอใจของคนซื้อมากกว่า คนซื้อพอใจกับความหนา พอใจที่จะจ่ายในราคานี้มั้ย ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน หรือจะนำไปติดตั้งส่วนไหนของบ้าน เลือกที่จะติดตั้งเองหรือต้องว่าจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญติดตั้งให้? รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น

  อายุการใช้งาน
แม้ว่าฉนวนกันความร้อนจะมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15ปี ถึงจะเปลี่ยนใหม่ แต่ตัวการสำคัญที่จะย่นระยะการเปลี่ยนใหม่ให้สั้นลงก็คือ ความชื้น น้ำ แสงแดด ความร้อน ผู้ผลิตจึงหาทางแก้ปัญหาพวกนี้ ถ้าเป็นฉนวนในกลุ่มเส้นใยก็จะต้องเพิ่มแผ่นอลูมิเนียมฟอยด์หุ้มฉนวนไว้ ป้องกันความชื้น น้ำหรือแมลงกัดแทะแล้วยังช่วยสะท้อนความร้อนออกไปได้บางส่วน แต่ถ้าแผ่นนอลูมิเนียมฟอยด์นี้เกิดฉีก ขาด ความชื้น เชื้อรา แมลงก็จะเข้าไปทำลายเส้นใยจนใช้การไม่ได้ในที่สุด

ระวังเรื่องการกดทับด้วยสำหรับฉนวนชนิดเส้นใย โดยเฉพาะในขณะติดตั้งไม่ควรเดินเหยียบบนฉนวนโดยตรง เพราะเส้นใยที่ถูกทำให้แฟบแบนจะเสื่อมประสิทธิภาพป้องกันความร้อน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้หาไม้กระดานปูทับก่อนแล้วค่อยเดินบนไม้กระดานแทน เพื่อลดแรงกดทับบนฉนวน ส่วนฉนวนที่ผลิตจากโฟม ทั้งชนิดอัดแผ่นเรียบและชนิดฉีดพ่น ก็อาจจะบิดงอ เสียรูปเมื่อโดนความร้อนจัดหรือแสงแดดโดยตรงถ้าไม่มีวัสดุป้องกันแสง UV ปิดทับอีกชั้น

ถ้าเรารู้สึกว่าบ้านร้อนขึ้นทั้งๆ ที่ติดฉนวน ให้สันนิษฐานก่อนว่าอาจจะมีฉนวนส่วนไหนเสียหาย อย่าปล่อยให้ฉนวนฉีกขาดโดยไม่ซ่อมแซม ปล่อยให้ความชื้นเข้าไป แมลงเข้าไปกัดแทะทำลายหรือทำรัง ฉนวนก็จะใช้งานไปได้อีกนานๆ หลายปีอย่างที่ควรจะเป็น

 ความปลอดภัยต่อผู้ติดตั้ง เจ้าของบ้านและสิ่งแวดล้อม    
อันตรายจากฉนวนกันร้อน เป็นเรื่องร้อนๆ อีกเรื่องหนึ่งที่มักจะพูดถึง โดยเฉพาะฉนวนกันความร้อนประเภทเส้นใย ที่หลายคนหวั่นใจกับความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมั้ย ถ้าเส้นใยเล็กๆ นี้เข้าไปอุดตันอยู่ในถุงลมปอดของเรา จริงๆ แล้ว ถ้าเราหายใจเอาฝุ่นละอองรวมถึงเส้นใยที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.5ไมครอนเข้าไป ร่างกายจะยังสามารถขับออกมาได้ แต่ถ้าเส้นใยนั้นเล็กกว่า 0.5ไมครอน และมีการสะสมเป็นเวลานานหลายปี ถึงจะมีผลต่อปอดและระบบหายใจของเรา เพราะฉะนั้นเพื่อความสบายใจ ก่อนซื้อฉนวนกันความร้อนก็ลองสอบถามจากคนขายหรือดูฉลากบนสินค้าก่อนว่า เส้นใยฉนวนมีขนาดเล็กกว่า 0.5ไมครอนหรือไม่

แต่ที่เป็นปัญหาแน่ๆ โดยเฉพาะฉนวนแบบเส้นใยก็คือ อาการระคายเคืองผิวเมื่อสัมผัสฉนวนในขณะติดตั้งโดยเฉพาะฉนวนใยแก้วที่ไม่ได้มีแผ่นอลูมินั่มฟอยด์หุ้มปิด ก่อนติดตั้งให้สวมใส่เสื้อผ้าที่ปิดคลุมร่างกายมิดชด สวมถุงมือ หน้ากากปิดปากจมูกให้เรียบร้อย หลังติดตั้งแล้วก็ควรอาบน้ำด้วยฝักบัวเพื่อให้แรงดันน้ำจากฝักบัว ชะล้างเอาเศษเส้นใยขนาดเล็กที่อาจติดอยู่ตามผิวหนังหลุดออกไปกับน้ำ

สมัยก่อนฉนวนกันความร้อนยังไม่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ เดี๋ยวนี้ฉนวนกันความร้อนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บางชนิดสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ บางชนิดก็ทำมาจากวัสดุที่ใช้แล้วอย่างแก้วหรือกระดาษใช้แล้ว ส่วนใครจะเลือกใช้แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า คนซื้อใส่ใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน

ราคา  
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความหนาของฉนวน ราคาของฉนวนจะสูงขึ้นตามความหนาของฉนวน ฉนวนบางตัววัสดุที่นำมาใช้ก็มีผลต่อราคา หรือต้องใช้ช่างเฉพาะทางหรืออุปกรณ์พิเศษในการผลิตหรือติดตั้ง รวมถึงความยาก-ง่ายในการติดตั้ง แต่ถ้าสามารถติดตั้งฉนวนกันร้อนได้ตั้งแต่เริ่มสร้างบ้าน ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่ามาใส่ฉนวนเพิ่มในภายหลัง

แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกฉนวนกันความร้อนด้วยเหตุผลอะไร ข้อสำคัญคือ ทำความเข้าใจกับข้อมูลของสินค้า ชนิดของฉนวน การติดตั้ง ข้อจำกัด ตัวเลขแสดงค่าต่างๆ ของฉนวน ข้อมูลด้านความปลอดภัย มาตรฐานความปลอดภัย(มอก.) และเพื่อให้การลงทุนซื้อฉนวนกันความร้อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรจะศึกษาไปถึงการป้องกันความร้อนเข้าบ้านทั้งระบบ ว่าฉนวนแบบไหน เหมาะกับการใช้งานแบบไหน ควรจะติดตั้งตรงไหน ควบคู่กับอะไร เพื่อให้เราได้ประโยชน์จากฉนวนนั้นจริง เพียงแค่นี้ เราก็สามารถลดอุณหภูมิในบ้านเย็นลงได้โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศตลอดเวลาแล้วค่ะ